การนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านการเกษตร ปศุสัตว์ อุตสาหกรรม

การนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และโดยเฉพาะทางด้านการแพทย์ใช้ประโยชน์มากที่สุดในการผลิตยาชนิดใหม่ และวิธีการรักษาพยาบาลแบบใหม่ ดังต่อไปนี้

1. ด้านการเกษตร มีดังนี้

1.1 การผสมเทียมและการถ่ายฝากตัวอ่อน กรมปศุสัตว์ได้ปรับปรุงพันธุ์โคนมด้วยเทคโนโลยีชีวภาพการผสมเทียม และการถ่ายฝากตัวอ่อน ทำให้ลดการนำเข้าพันธุ์โคจากต่างประเทศได้ และได้ปรับปรุงพันธุ์ด้วยการผลิตโคลูกผสม โคเนื้อ และโคนม 3 สายเลือด

1.2 การปรับปรุงพันธุ์ ได้มีการสร้างสุกรสายพันธุ์ใหม่ให้มีลักษณะดี และเจริญเติบโตเร็ว ด้วยการปรับปรุงสายพันธุ์เป็นสุกรลูกผสม เช่น สุกรสายพันธุ์ปากช่อง B เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์เปียแตรง

2. ด้านอุตสาหกรรม มีดังนี้

2.1 พันธุวิศวกรรม เป็นการตัดต่อสายพันธุ์พันธุกรรมที่มีลักษณะดีตามที่ต้องการและคัดเลือกมาแล้วเพื่อการปรับปรุงสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ เพื่อเพิ่มผลผลิต ยารักษาโรค วัคซีน ยาต่อต้านเนื้องอก น้ำยาสำหรับตรวจวินิจฉัยโรคและฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์

2.2 การถ่ายฝากตัวอ่อน เป็นการเพิ่มปริมาณและพัฒนาคุณภาพของโคเนื้อและโคนม เพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตนมโคและเนื้อโค เพื่อแปรรูปเป็นนมผงและอาหารกระป๋อง

2.3 การผสมเทียมสัตว์น้ำและสัตว์บก การผสมเทียมปลาเพื่อเพิ่มปริมาณ และพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมอาหารกระป๋องและอาหารแปรรูปต่อไป

3. ด้านอาหาร ปัจจุบันมีอาหารที่เป็นผลผลิตจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมมาใช้ ดังนั้น จึงมีผู้เสนอให้ติดฉลากว่าเป็นอาหาร GMOs ให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกรับประทานเอง เช่น

– ข้าวที่มียีนต้านทานแมลง

– มะเขือเทศซึ่งมียีนที่ทำให้ยืดอายุการเก็บได้นานขึ้น

– ถั่วเหลืองที่มียีนต้านสารปราบวัชพืช

– ข้าวโพดที่มียีนต้านทานแมลง

นอกจากนี้ได้มีการเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากผลผลิตจากสัตว์ เข่น เนย นมเปรี้ยว โยเกิร์ต

4.ด้านการแพทย์ ในด้านการแพทย์จะใช้เทคโนโลยีชีวภาพด้านพันธุวิศวกรรมเป็นส่วนใหญ่

ดังตัวอย่างต่อไปนี้

– การตรวจวินิจฉัยโรคที่มียีนเป็นพาหะ เพื่อตรวจสอบโรคทาลัสซีเมีย โรคปัญญาอ่อน โรคโลหิตจาง และโรคมะเร็ง

– การตรวจสอบความเป็นพ่อ แม่ ลูก จากลายพิมพ์ของยีน หรือที่เรียกว่าการตรวจ DNA รวมไปถึงการสืบค้นคดีของกรมพิสูจน์หลักฐานในทางการแพทย์จาก DNA เพื่อหาตัวผู้กระทำความผิด

– การใช้ยีนบำบัดโรค เช่น การรักษาผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็ง การรักษาโรคการทำงานผิดปกติของไขกระดูก

– การค้นหายีนควบคุมการสร้างภูมิคุ้มกัน ยีนควบคุมความอ้วน และยีนควบคุมความชรา

ในการเลี้ยงสัตว์ให้ประสบความสำเร็จนั้น ล้วนต้องมีการคำนึงถึงผลกำไรที่สูงกว่าต้นทุนในการผลิต ซึ่งผลกำไรที่สูงขึ้นนั้นส่วนหนึ่งนั้นมาจากผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นด้วย และในการเพิ่มผลผลิตที่มากขึ้นนั้น มีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง คือพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของพันธุกรรมคือ การมีพันธุ์สัตว์ที่ดี ให้ผลผลิตสูง และในส่วนของสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การอยู่ในสถานที่ที่ปลอดจากโรคระบาด ทำให้สัตว์แข็งแรงและให้ผลผลิตได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งอาหารก็มีส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของสัตว์เป็นอย่างมาก จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาอาหารสัตว์ และใช้สารเสริมในอาหารสัตว์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิต สารเสริมอาหารสัตว์ ที่นิยมใช้ประเภทหนึ่งคือ สารต้านจุลชีพ หรือยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) ซึ่งได้มีการนำมาใช้ เป็นเวลานานพอสมควรมาแล้ว เพราะได้มีการค้นพบว่า ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อนั้น หากนำมาใช้ในระดับต่ำกว่าปริมาณที่ใช้ในการรักษาโรค จะมีฤทธิ์เป็นสารเร่งการเจริญเติบโตได้ แต่เนื่องมาจากการที่สัตว์ได้รับสารต้านจุลชีพในระดับต่ำๆ เป็นเวลานานอาจจะก่อให้เกิดการพัฒนาของเชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถดื้อยาในลำไส้ได้ และยังมีสารตกค้างในผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ปัจจุบันในต่างประเทศจึงได้มีการวางมาตรการควบคุมการใช้อย่างเข้มงวด โดยในประเทศ ในกลุ่มประชาคมยุโรป ไม่อนุญาตให้ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารสัตว์อีกต่อไป ซึ่งในปัจจุบันการห้ามใช้ยาปฏิชีวนะนี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นเหตุผลหลักในการกีดกันทางการค้า