Author Archives: admin

การร่วมมือการวิจัยพัฒนาธุรกิจปศุสัตว์ในประเทศไทย

การพัฒนาความร่วมมือในระดับภาครัฐ เอกชน และองค์กรต่างๆ ธุรกิจปศุสัตว์ในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาคเอกชนมีความเข้มแข็ง สังเกตได้จาก ถึงแม้จะมีเหตุการณ์ที่กระทบต่อธุรกิจต่างๆ เช่น เหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองแต่ก็ไม่ค่อยมีผลกระทบต่อธุรกิจมากนัก และองค์กรต่างๆจำเป็นจะต้องให้ความร่วมมือ เช่น ต้องรีบดำเนินสร้าง Road Map ในอุตสาหกรรมของตัวเอง การสร้างองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการเริ่มจากภาครัฐจะต้องให้ความสนับสนุน และประสานกับสมาคมต่างๆทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งทำได้โดยการใช้การเจรจาทางธุรกิจ หรือไปศึกษาดูงานที่ต่างประเทศ จะทำให้ได้มีโอกาสพบบุคลากรมากมาย เป็นการสร้างเครือข่าย จะเป็นผลให้มีโอกาสทำปศุสัตว์ได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถเริ่มต้นเองระดับสมาคมได้ เมื่อเริ่มแล้วมีแผนชัดเจน สามารถขอการสนับสนุนจากภาครัฐได้
การวางเกณฑ์และแก้ปัญหา Non-tariff Barriers มีการวางหลักเกณฑ์ ในการทำข้อตกลงระหว่างประเทศว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกำแพงภาษีระหว่างประเทศสมาชิกให้ต่ำลง และลดอุปสรรคที่ไม่ใช้ภาษีให้มีกฎเกณฑ์ที่สามารถกำกับกันได้
การจัดการโรคระบาดและโรคอุบัติใหม่ การควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องมีการตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากมีโรคใหม่เกิดขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ ถ้ามีความรู้ก็จะสามารถสังเกตเห็นได้ได้ทันและสามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้ทันท่วงที ถึงแม้จะเป็นความเสียหายเล็กๆน้อยๆที่เกิดขึ้นก็ตาม โดยเฉพาะโรคที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ โรคไข้หวัดนก, โรค EMS ในกุ้ง, โรคปากเท้าเปื่อยในสุกร วัว และโรคนิวคาสเซิลในไก่ไข่ ไก่เนื้อ

การวิจัยพัฒนาต้นน้ำพ่อแม่พันธ์ประเทศไทยประสบปัญหาในการผลิตพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่ดีมากๆ ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อที่ว่าต้องเอาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มาจากต่างประเทศ ดังนั้นทางภาครัฐจำเป็นที่จะต้องเข้ามาส่งเสริมการพัฒนาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่มีคุณภาพที่ดี เพื่อให้ได้ลูกที่ผลิตออกมามีคุณภาพที่ดีและมีจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้ได้รับกำไรมากขึ้น การบริหารปัจจัยการผลิตและวัตถุดิบอาหารสัตว์ วัตถุดิบเป็นปัจจัยการผลิตหนึ่งที่สำคัญ มีผลต่อคุณภาพของสัตว์ที่ผลิตออกมาได้ ซึ่งส่วนประกอบอาหารสัตว์หลักๆ เช่น ข้าวโพด ยังขาดแคลนในช่วงนอกฤดูกาลที่มีผลการผลิตต่ำ และกากถั่วเหลืองที่มีผลผลิตในประเทศต่ำลงทุกๆ ปี โดยในปีนี้น่าจะมีผลผลิตไม่ถึง 70,000 ตัน จากความต้องการกว่า 2,000,000 ตันต่อปี

เทคโนโลยีชีวภาพทางวิทยาการสืบพันธุ์เพื่อการปศุสัตว์

เทคโนโลยี ชีวภาพทางวิทยาการสืบพันธุ์ หรือ Biotechnology คือ เทคนิคการนำสิ่งแวดล้อม หรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตมาพัฒนาเพื่อการปรับปรุงพืช สัตว์ หรือผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อประโยชน์เฉพาะตามที่มนุษย์ต้องการ ในการผลิตและปรับปรุงพันธุ์สัตว์ ได้นำเทคโนโลยีชีวภาพทางวิทยาการสืบพันธุ์  มาใช้ ซึ่งหมายถึง การใช้วิธีการทางชีววิทยาเพื่อผลิตลูกหลานเพิ่มขึ้น

จุดประสงค์ของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางวิทยาการสืบพันธุ์ มีประโยชน์หลายประการดังนี้
1. เพื่อปรับปรุงพันธุกรรมให้รวดเร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ช่วยย่นระยะเวลาในการปรับปรุงและทดสอบพันธุ์
3. ช่วยป้องกันโรคเข้ามาในประเทศ และออกจากประเทศ
4. ช่วยในการรักษาพันธุกรรมของสัตว์หายากและใกล้สูญพันธุ์
5. เพื่อแก้ไขปัญหาการผสมติดยากซึ่งเกิดจากความล้มเหลวในการปฏิสนธิ
6. เป็นเทคนิคพื้นฐานสำหรับเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ก้าวหน้ามาก  เช่น การโคลนนิ่งสัตว์ (cloning)
7. ใช้ในงานวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ งานวิจัยทางสัตวแพทย์ เภสัชกรรม และการแพทย์

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีชีวภาพทางวิทยาการสืบพันธุ์ในการผลิตและปรับปรุงพันธุ์สัตว์ มีความเจริญก้าวหน้าตามลำดับ แบ่งออกเป็น 4 ยุค ดังนี้
ยุคที่ 1 การผสมเทียม (Artificial  Insemination : AI)
เป็นเทคโนโลยีชีวภาพทางวิทยาการสืบพันธุ์รุ่นแรกที่นำมาใช้แพร่หลายมากที่สุด ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการนำเทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาใช้ในวงการปศุสัตว์  มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่พันธุกรรมในสายพ่อพันธุ์ การผสมเทียมได้เริ่มในปศุสัตว์ (farm animal) การผสมเทียมในแกะและโคเจริญก้าวหน้ามาก หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่างๆ ได้ประจักษ์ถึงคุณประโยชน์ของการผสมเทียมในการปรับปรุงและขยายพันธุ์สัตว์ ได้เริ่มงานผสมเทียมขึ้นใหม่ทั่วโลก ซึ่งในยุคนี้ได้เริ่มมีการผสมเทียมในสุกร ไก่งวง ไก่ และกระบือ

ยุคที่ 2 การย้ายฝากตัวอ่อน (Embryo Transfer : ET)
เป็นเทคโนโลยีที่มุ่งปรับปรุงในสายแม่พันธุ์ โดยนำตัวอ่อนจากแม่สัตว์ตัวให้ ไปฝากในสัตว์ตัวรับ เพื่อให้ตั้งท้องแทนซึ่งแม่สัตว์ตัวให้ตัวหนึ่งสามารถผลิตตัว อ่อนได้เป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถเพิ่มสัตว์พันธุ์ดีได้เป็นจำนวนมาก และปรับปรุงพันธุ์ได้เร็วกว่าการผสมเทียม เทคโนโลยีการย้ายฝากตัวอ่อนได้พัฒนามาแล้กว่า 20 ปี ด้วยข้อจำกัดด้านต้นทุนค่อนข้างสูงและประสิทธิผล ทำให้การย้ายฝากตัวอ่อนไม่แพร่หลายกว้างเท่ากับการผสมเทียม

ยุคที่ 3 การแยกเพศตัวอ่อน การปฏิสนธินอกร่างกาย  การโคลนนิ่ง
เป็น เทคโนโลยีที่ได้มีการพัฒนามาพร้อมๆ กันประมาณ 10 ปี ที่ผ่านมา โดยอาศัยพื้นฐานจากเทคโนโลยีในยุคที่ 1 และ2 ได้มีการพัฒนาขึ้นในหลายประเทศในทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือ  ทวีปออสเตรเลีย  รวมทั้งประเทศญี่ปุ่น ส่วนในประเทศไทยได้มีการพัฒนาขึ้นแล้ว

ยุคที่ 4 การถ่ายฝากยีนส์
เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงต้องอาศัยเทคโนโลยียุคที่ 1, 2 และ 3 เป็นพื้นฐาน จุดมุ่งหมายของการถ่ายฝากยีนส์เพื่อสร้างสายพันธุ์ใหม่ ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่ดีเด่น เช่น ให้ผลผลิตน้ำนม และเนื้อสูง ความต้านทานโรคดี อัตราการแลกเนื้อและการเจริญเติบโตดี ทั้งนี้เนื้อสัตว์ที่เกิดจากการถ่ายฝากยีนส์ เรียกว่า transgenic animal เทคโนโลยีการถ่ายฝากยีนส์ได้มีการพัฒนาขึ้นแล้วในสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่ถึงขั้นนำไปปฏิบัติใช้ในสัตว์เศรษฐกิจสำหรับประเทศไทยได้เริ่มมี การศึกษาบ้างแล้ว

วิวัฒนาการงานผสมเทียมในประเทศไทย
กรมปศุสัตว์ได้เริ่มงานผสมเทียมโค ภายหลังที่นายสัตวแพทย์ ดร.ทศพร  สุทธิคำ ได้กลับจากการศึกษาอบรมที่ศูนย์อบรมนานาชาติครั้งที่ 1 จัดขึ้นโดย FAO  ภายใต้การอำนวยการของ ศาสตราจารย์ นิลล์ ลาเกอร์ลอฟ ระหว่างปี พ.ศ. 2497 – 2498  ในที่สุดศาสตราจารย์ นิลล์ ลาเกอร์ลอฟ ได้แนะนำให้เริ่มงานผสมเทียมขึ้นในท้องที่ 2 แห่งคือที่จังหวัดเชียงใหม่ และกรุงเทพฯ ซึ่งมีการเลี้ยงโคนมมาก หลังจากนั้นได้มีการสั่งซื้ออุปกรณ์ผสมเทียมที่จำเป็นจากประเทศสวีเดน และอินเดีย มาดำเนินการรีดเก็บน้ำเชื้อพ่อโคพันธุ์บราวน์สวิส ซึ่งคัดเลือกมาจากสถานีบำรงพันธุ์สัตว์ของกรมปศุสัตว์

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RFID ด้านการเกษตรและปศุสัตว์

เทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากทั่วโลกในขณะนี้ ด้วยเชื่อว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและการดำเนินธุรกิจ เพราะเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ในระบบค้าปลีก ค้าส่ง การผลิต จนกระทั่งการบริหารจัดการ Supply Chain และระบบ Logistic ตลอดจนระบบรักษาความปลอดภัย (Security & Access Control) และคาดว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาททดแทนระบบบาร์โค้ด ด้วยคุณสมบัติของตัวชิปที่มีศักยภาพสูงกว่า

อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยี RFID เป็นระบบเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเพิ่มขีดความสามารถในการคำนวณและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และส่งกำลังโดยคลื่นแม่เหล็กหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแทนการสัมผัสทางกายภาพ คาดการณ์ ว่าตลาดของเทคโนโลยี RFID ในปี ค.ศ. 2008 จะมีมูลค่ารวมทั่วโลกมากถึง 124,000 ล้านบาท โดยสหรัฐอเมริกา และยุโรปจะเริ่มใช้งานระบบ RFID ในระบบ Supply Chain ในปีหน้า ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวในเทคโนโลยีดังกล่าวทั่วโลก

ปัจจุบันการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RFID สามารถ แบ่ง Application การใช้งานได้ 4 กลุ่มหลัก คือ
• Access Control เป็นลักษณะของ Personal Identification เกี่ยวกับการควบคุมการเข้า-ออกอาคารหรือสถานที่ต่างๆ
• Member Card เพื่อสนับสนุนการใช้งานด้าน Retail และ e-Purchasing
• Logistic และ Supply Chain Management
• Animal Tracking งานที่เกี่ยวข้องกับด้านการเกษตรและปศุสัตว์ ซึ่งประเทศไทยสามารถนำ เทคโนโลยี RFID มาประยุกต์ใช้งานได้เป็นอย่างดี

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านการเกษตรและปศุสัตว์ มีการส่งออกอาหารเป็นอุตสาหกรรม ภายในประเทศ ต้องมีการทำ Tracking Animal โดยเฉพาะในแง่ของ Farm Automation เพื่อให้สามารถ Control และติดตามพฤติกรรมของสัตว์ในฟาร์มได้ ทั้งยังเป็นการดำเนินการเพื่อทำ Traceability เกี่ยวกับโรคระบาดต่างๆ ด้วย เพราะอุตสาหกรรมอาหารนั้นมีมาตรการ Food Traceability ขึ้นมาเพื่อสร้างระบบที่เป็น National ID System ที่ดี มีการ Tracking ที่ดี สามารถกำจัดโรคระบาดได้ สร้างให้เกิดโอกาสในการส่งออกต่างประเทศมากขึ้น เพราะเวทีการค้าใน ระดับประเทศมีการบังคับใช้มาตรการทางด้าน Food Traceability อย่างจริงจังมากขึ้น ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องให้ ความสำคัญกับการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาปศุสัตว์

กรมปศุสัตว์มีบทบาทในการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาให้กรมเป็นศูนย์กลางภูมิปัญญาด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างและพัฒนาเครือข่ายด้านปศุสัตว์ให้เข้มแข็ง รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมเพื่อลดต้นทุน เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส ในการประกอบอาชีพด้านการปศุสัตว์ในทุกด้าน อาทิ การสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาดำเนินงานร่วมกับทุกภาคส่วนและเชื่อมโยงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ …

สารสนเทศด้านการเกษตร คือ รากฐานสำคัญ และเป็นสิ่งจำเป็นอันจะขาดมิได้ในการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทย เพราะสารสนเทศเป็นที่มาของความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่ม และการพัฒนาองค์ความรู้ ทั้งในด้านการผลิต การจัดการการตลาด และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ฯลฯ การพัฒนาสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเกษตร เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เพราะว่าประเทศไทยจะมีความเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น แต่กว่าร้อยละ 60 ของประชาชนในประเทศก็ยังอยู่ในภาคเกษตรกรรม วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศที่ผ่านมาก็ยังตอกย้ำให้เห็นความสำคัญของภาคเกษตร ในฐานะที่เป็นภาคเศรษฐกิจที่พึงพาได้อย่างแท้จริง ของประชาชนในประเทศ

การพัฒนาสารสนเทศด้านการเกษตรให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบในลักษณะของเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงานผู้ผลิตสารสนเทศทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน ตลอดจนถึงผู้ใช้สารสนเทศ ทั้งที่เป็นองค์กรและบุคคล

เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ทางการปศุสัตว์รได้หลายประการดังนี้
1. ใช้ไอทีเป็นสื่อ (Media)ในการ สื่อสาร เผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตรนอกเหนือจากสื่ออื่น ๆ
2. จัดทำโปรแกรมเพื่ออำนวยประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
3. ประยุกต์ใช้ไอทีในการสืบค้นข้อมูลข่าวสารความรู้ด้านการปศุสัตว์จากแหล่งความรู้
4. เป็นช่องทางการตลาดช่องทางหนึ่งด้วยระบบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E- commerce)

ปศุสัตว์ ประกอบด้วย ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสัตว์ โครงการที่สำคัญ พ.ร.บ./กฏกระทรวง/ระเบียบ ข้อมูลสถานการณ์ปศุสัตว์ ข้อมูลสถิติปศุสัตว์ ข้อมูลนำเข้า/ส่งออก ฯลฯ

ข้อที่ควรตระหนักว่าในการดำเนินงานส่งเสริมการปศุสัตว์ด้วยเทคโนโลยีที่มีความล้ำหน้าและทันสมัยนั้นมิใช่ว่าจะมีแต่ผลในทางบวกแต่เพียงอย่างเดียว แต่ผลในทางลบก็มีคู่ขนานกันมา หากแต่ว่าควรต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนมิเช่นนั้นอาจประสบความล้มเหลวในการดำเนินการได้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นส่งผลให้ระบบการส่งเสริมการเปศุสัตว์ ที่กำลังเกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นควรต้องมองให้เห็นภาพที่จะเกิดขึ้นและพยายามดำเนินวิธีการแก้ไขป้องกันควบคู่กันไปจึงจะช่วยให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การทำฟาร์มปศุสัตว์ในอนาคตจะต้องคำนึงถึงมาตรฐานการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

จากกระแสโลกมุ่งเน้นไปที่การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก

ส่งผลให้มีการยกระดับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมตามไปด้วย และการลงทุนในด้านสิ่งแวดล้อมย่อมต้องใช้เม็ดเงินมหาศาลเพื่อให้ผ่านการรองรับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม กฎเกณฑ์เหล่านี้จะเป็นตัวคัดกรองผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หากไม่มีเงินลงทุนที่สูงพอแล้ว แทบจะมองไม่เห็นหนทางที่จะได้เป็นเจ้าของฟาร์มเลี้ยงสัตว์เลย เพราะหากไม่ลงทุนในด้านสิ่งแวดล้อมและทำความเข้าใจกับผู้คนรอบด้านแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือการต่อต้านจากชุมชน-ท้องถิ่นที่ตั้งของฟาร์มนั้นๆ

ปัจจุบันคนไทยประสบปัญหาต่างๆมากมาย

ทั้งทางด้านภัยธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ความยากจนจึงเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข แต่การใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามแนวทางที่ในหลวงทรงแนะนำกับเกษตรกร และประชาชนทั่วไปเป็นแนวทางที่จะช่วยแก้ปัญหาและทำให้สามารถอยู่แบบพึ่งพาตนเองได้ การทำการเกษตรแบบพอเพียงมีหลากหลายรูปแบบเช่นการทำการเกษตรแบบทฤษฎีใหม่โดยการจัดพื้นที่ให้เหมาะสม การทำการเกษตรแบบผสมผสาน การทำการเกษตรอินทรีย์ วนเกษตร และเกษตรธรรมชาติ ดังนั้นการอบรมให้ความรู้และประสบการณ์แก่ผู้เข้ารับการอบรมจึงช่วยให้ผู้อบรมมีความรู้และประสบการณ์ในการทำฟาร์มปศุสัตว์แบบพอเพียงได้ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาความยากจนได้

ความยากลำบากในการประกอบอาชีพทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในอนาคตจากการถูกบีบให้เข้าหลักเกณฑ์รักษาสิ่งแวดล้อม จะส่งผลให้กลุ่มฟาร์มรายย่อยมีจำนวนน้อยลง แต่เกษตรกรรายย่อยก็ยังมีทางออกและสามารถอยู่รอดได้ โดยการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนในรูปสหกรณ์หรือนิติบุคคล เพื่อให้เกิดความร่วมมือและเพิ่มศักยภาพในการผลิตและการตลาด หากมีพลังมากๆก็สามารถกลายเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ได้เช่นกัน แม้ราคาจะสูงขึ้นจากต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม แต่ผู้บริโภคในอนาคตก็คงพร้อมที่จะจ่ายให้แก่ผลิตภัณฑ์ที่มีการตระหนักในประเด็นนี้ ซึ่

ปัจจัยเสี่ยงของการทำธุรกิจปศุสัตว์

1)วัฏจักรของอุตสาหกรรมปศุสัตว์ เนื่องจากสินค้าปศุสัตว์เป็นสินค้าโภคภัณฑ์เก็บไม่ได้ มีขึ้นลงขึ้นกับอุปสงค์และอุปทาน หากอุปทานขาด 5% ราคาขึ้นไปได้ถึง 15-20% หรือหากอุปทานเหลือ 5-10% ราคาก็ลงได้ถึง 15-20% ได้เช่นเดียวกัน
2)วัตถุดิบอาหารสัตว์โดยเฉพาะ ข้าวโพด-กากถั่วเหลือง-มันสำปะหลัง ได้ถูกนำไปใช้เพื่อผลิตเป็นเอทานอล ทำให้วัตถุดิบขาดแคลนเพราะเครื่องยนต์มาแย่งสัตว์กิน และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนค่าขนส่ง
3)ปัญหาโลกร้อนส่งผลให้อุณหภูมิภายในโลกเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบทำให้ฝนตกไม่เป็นไปตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้งยาวนานขึ้น เกิดโรคระบาดแมลงศัตรูพืชหรือพายุอย่างรุนแรง
4)การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ส่งผลต่อราคาสินค้าทุกตัวที่ปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งปัญหาโลกร้อนที่ก่อให้เกิดความขาดแคลนอาหารในหลายพื้นที่ได้ร่วมกันแย่งอุปทานในตลาด
5)รัฐบาลชุดที่ผ่านมาเป็นรัฐบาลลักษณะชั่วคราว ทำให้ไม่สามารถอนุมัติงบฯและโครงการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้
6)ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ในอนาคตหากวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับตัวสูงขึ้น
7)ปัญหาโรคระบาดและคุณภาพของวัตถุดิบ เนื่องจากปศุสัตว์ยังมีความเสี่ยงในเรื่องของโรคระบาดโดยเฉพาะการเลี้ยงสุกร

การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ดีอย่างไร?

การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ดีอย่างไร

 

แค่เอารูปในเกมส์มาแปะเฉย ๆ ไม่มีอะไรครับ เข้าเรื่องกันดีกว่า อาชีพหรือการประกอบอาชีพเกี่ยวกับธุรกิจทำฟาร์มนั้น นับว่าเป็นธุรกิจที่น้อยคนคิดจะทำ เพราะว่าเป็นธุรกิจที่จะต้องมีความเกี่ยวพันธ์กับสัตว์ฟาร์ม ซึ่งจะเกี่ยวข้องแบบไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับสัตว์ที่เราเลี้ยง และนำมาทำเป็นฟาร์มนั่นเองครับ เช่นฟาร์มหมู ก็มีปัญหาเรื่องของความสะอาดที่จะต้องทำความสะอาดกันบ่อย เพราะว่าหมูฟาร์มนั้น จะต้องลงสู่ตลาด ในเรื่องของอาหารการกินต่าง ๆ หมูก็ต้องกินดี และอยู่ดี เพราะว่าเป็นเรื่องของความสะอาดนั่นเองครับ

หากจะว่าไป ถ้าเราคิดจะทำธุรกิจ หรือว่าทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ส่งออก หรืออย่างไรก็ตามเนี่ย ดีอย่างไร? สิ่งที่ตอบคำถามนี้ได้ก็คือ ใช่ความฝันของคุณหรือไม่ ถ้าใช่่คุณเองก็จะรู้โดยอัตโนมัติ ว่าการที่คุณชอบอยู่กับสัตว์เหล่านี้ และนำความชอบนี้นั้นมาประกอบทำเป็นธุรกิจฟาร์ม ฯลฯ ก็ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่เยี่ยมยอดอย่างแน่นอน และอนึ่งธุรกิจแบบนี้ไม่ค่อยมีคนทำมากเท่าไหร่นัก เพราะขึ้นอยู่กับตลาดสินค้าว่าเป็นที่ต้องการมากน้อยแค่ไหน อย่างฟาร์มไก่ก็อาจจะแข่งยากเพราะว่า บริษัทรายใหญ่อย่าง CP ได้ดำเนินการเกือบการผูกขาดตลาดไก่ได้แล้ว

ดังนั้นการเลือกทำฟาร์มนั้น หรือการดำเนินการธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกันกับปศุสัตว์นั้น จะต้องมีระบบการจัดการต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา ซึ่งสิ่งเหล่านี้นั่นเอง จะสามารถผลักดันให้ธุรกิจของท่านั้น สามารถก้าวไกลได้เป็นอย่างมาก และหากเพื่อน ๆ คนไหนสนใจทำฟาร์มก็สามารถติดต่อได้เลย

ดังนั้นทำในสิ่งที่คนเรานั้นไม่ค่อยคิดจะทำกัน นั้นก็ย่อมได้ดีครับ  แต่บางครั้งเราก็อาจจะดี เพราะว่าเราเองก็ต้องเริ่มต้นด้วยการทำความรู้จักกับธุรกิจเหล่านี้ก่อนเป็นลำดับแรกนั่นเองครับ และหากเพื่อน ๆ คนไหนมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องอะไร ก็สามารถส่งรายละเอียดมาได้เลยนั่นเเอง